การจัดการองค์ความรู้ เป็นกระบวนการในการล้วงเอาความจริงภายในองค์กรออกมา จากนั้นทำการเปลี่ยนรูป และเผยแพร่องค์ความรู้นั้นผ่านทางหน่ายงานต่าง ๆ ขององค์กร ดังนั้นองค์กรสามารถใช้องค์ความรู้ร่วมกันได้ ซึ้งเมื่อนำองค์ความไปใช้งานแล้ว องค์ความรู้นั้นจะไม่หมดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก องค์ความรู้จะช่วยทำให้องค์กรสามารถค้นหา คัดเลือก จัดการ เผยแพร่ และส่งมอบข่าวสารและความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญได้ การจัดการกับองค์ความรู้นั้น จะทำการเปลี่ยนรูปข้อมูลและข่าวสารให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาได้ และต้องสามารถใช้ได้ผลกับทุก ๆ หน่วยงาน และกับทุก ๆ คน ภายในองค์กร
องค์กรสามารถสร้างแกนกลางในการจัดเก็บองค์ความรู้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อรวมเป็นแหล่งองค์ความรู้ทั้งหมดขององค์กร ในขณะที่เราอยู่ในกระบวนการแปลงองค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) ให้เป็น องค์ความรู้ที่มีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) นั้น ระหว่างนั้นก็จะเป็นการสร้างองค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้างขึ้นมาใหม่อีกด้วย (generate new tacit knowledge) จากรูปอธิบายความสัมพันธ์ ได้ดังนี้
1. องค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) คือ องค์ความที่ไม่มีรูปแบบชัดเจน หาไม่ได้ตามตำรา เช่น ประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะบุคคล จากรูปเป็นกระบวนการในการเปลี่ยนความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) ให้เป็นความรู้แบบมีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) เพื่อให้ความรู้นั้นสามารถอธิบายความได้อย่างชัดเจน เมื่อ Tacit Knowledge ที่ถูกนำไปจัดเก็บไว้ในแกนกลางขององค์กร(Core Competencies of the Organization) ความรู้นั้นจะประกอบด้วย ความชำนาญ สิ่งต่าง ๆที่รับรู้และอธิบายได้ด้วยเหตุผล แนวคิด วัฒนธรรมองค์กร และสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ
2. องค์ความรู้แบบมีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) คือ องค์ความรู้ที่สามารถเขียนอธิบายได้ชัดเจน เช่น รายงาน จากรูปจะนำความรู้ที่ชัดเจนนี้ ไปใช้แก้ปัญหา กำหนดนโยบาย กำหนดกลยุทธ์ ใช้ในการตัดสินใจ จัดทำเอกสารสิทธิ์ และใช้จัดการกับระบบสารสนเทศ สามารถเขียนความรู้นั้นออกมาในรูปของกระดาษ (Paper) และนำไปเก็บไว้ที่แกนกลางองค์ความรู้ขององค์กร (Core Competencies of the Organization)
3. แกนกลางองค์ความรู้ขององค์กร (Core Competencies of the Organization) คือแหล่งในการจัดเก็บความสามารถขององค์กร เป็นศูนย์กลางความรู้สำหรับการบริหารงานและความสามารถที่แท้จริงขององค์กร จากที่กล่าวมา สามารถสรุปเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้ ได้ว่า การจัดการองค์ความรู้เป็นวิธีการที่เก่าแก่และมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ ในการจัดการองค์ความรู้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกระดับขององค์กร เราสามารถปฏิวัติและเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยการให้ความร่วมมือ และพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ และองค์ความรู้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร องค์ความรู้นี้จะสามารถส่งมอบแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับทุก ๆ คนในองค์กร และใช้ได้โดยไม่จำกัดสถานที่
การจัดการองค์ความรู้ เป็นการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารที่เป็นองค์ความรู้ในการใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ขององค์กร รวบรวมไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง เพื่อใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ซึ่งองค์ความรู้ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อจะเก็บแล้วจะต้องมีการถ่ายทอดและเผยแพร่ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานต่อองค์กรให้มากที่สุด องค์ความจะเก็บรวบรวมได้จากผู้เชี่ยวชาญ หรือกลุ่มคนพิเศษ ประสบการณ์ หรือความทรงจำขององค์กร หรืออาจมาจากวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ดังนั้นผู้จัดการที่ดีควรมีระบบจัดการองค์ความรู้ เพื่อพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
กุญแจสำคัญที่จะทำให้การจัดการองค์ความรู้นั้นประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) ผู้บริหารที่เป็นผู้อุปถัมภ์ (Executive sponsorship) และเป็นผู้ผลักดันการทำงาน การกำหนดเกณฑ์ในการวัดผลสำเร็จ (Measuring success)
ในอนาคตอาจจะมีซอฟต์แวร์ KM packages ที่ได้มาตรฐานครอบคลุมการทำงานขององค์กร วางจำหน่าย
การจัดการองค์ความรู้ มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้
1. เพื่อสร้างระบบจัดเก็บองค์ความรู้ (Create knowledge repositories)
2. เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงองค์ความรู้ (Improve knowledge access)
3. เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมขององค์ความรู้ให้ดีขึ้น (Enhance the knowledge environment)
4. เพื่อจัดการองค์ความรู้ให้เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และมีประโยชน์ (Manage knowledge as an asset)
เป็นที่เก็บหรือที่รองรับองค์ความรู้ หรือเรียกว่า “คลังองค์ความรู้” เป็นที่สำหรับเก็บรวบรวมองค์ความรู้จากภายในและภายนอกองค์กรเก็บไว้ในคลังข้อมูลกลาง
1. Externalization เป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งภายนอก มาจัดรูปแบบ
2. Internalization จัดรูปแบบองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นรูปแบบ (Format) ภายใน คือ การจำแนกองค์ความรู้แบบมีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) ให้ตรงกับความต้องการใช้งาน ผนวกเข้ากับองค์ความรู้ที่มาจากภายนอก (Externalization)
3. Intermediation การเชื่อมต่อกับองค์ความรู้ จะเป็นสื่อกลางที่ผู้ใช้ จะใช้ในการเข้าถึงหรือค้นหาองค์ความรู้ สื่อกลางส่วนมากจะเป็นเทคโนโลยี เช่น Internet, Groupware หรือ Workflow เป็นต้น
4. Cognition กระบวนการรับรู้ คือ กระบวนการรับองความรู้และประยุกต์ใช้งาน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
- แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2569
- แผกนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 - 2566
- แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2563
- แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2560
4 A เทคนิคหยุดเครียดถาวร
วิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในยุค "Covid-19"
คู่มือวิธีซ่อมแซมและแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง
ก้าวข้ามผ่านให้พ้นระบบการงบประมาณแบบเดิม Beyound Budgeting
ความรู้เรื่อวความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
คู่มือการเขียนบทความด้วย Infographics
โลกไร้ดุลยภาพ "word out of Balance"
เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเกษตรที่พึ่งพาตนเอง
การจัดการขยะ โดยใช้หลัก 3R
การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ
วิธีการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
วิธีการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งวเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สามารถนำเสนอข้อมูลอะไรได้บ้าง
การทบทวนและปรับปรุงแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
Recyclable Waste การจัดการขยะรีไซเคิล
Hazardous waste การจัดการขยะอันตราย
การขอใช้พื้นที่ป่าไม้ของ อปท. ในเขตป่าสงวน
9 วิธีจัดการความเครียด
ทฤษฎีตัวยู (Theory U)
การดูแลรักษาเครื่องสำรองไฟ หรือ UPS
เคล็ดลับการทำงานอย่างมีสุข
โอกาสการค้าและการลงทุนไทยจากนโยบาย Belt and Road Initiative ของจีน
คำศัพท์ไทย-อังกฤษ สำหรับติดต่อราชการการประชุมระหว่างประเทศ
คู่มือการปฏิบัติงานธุรการและงานสารบรรณ
นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558